วันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

vdo

การเปลี่ยนแปลงของ micro ที่ทำให้ได้ macro ใหม่ๆที่น่าสนใจ





จากการที่สังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวต่างๆที่เป็น micro และคิดว่าถ้าเรานำ micro มาสร้าง macro ใหม่เราจะได้ micro ที่น่าสนใจได้หรือไม่ ก็เลยหามุมมองของเราในชีวิตประจำวันที่ดูไม่น่าสนใจในเรื่องต่างๆมาเสนอเป็นผลงานในรูปแบบ vdo เพื่อให้ได้แบบใหม่ที่ดูน่าสนใจ

จากการที่เลือสิ่งที่ไม่มีความน่าสนใจที่เราผ่านในชีวิตประจำวันที่เราไม่เคยให้ความสนใจอะไรมันเลยมาทำเป็นงาน เช่น


ราวบันไดสะพานลอยหน้ามหาลัย






ไฟบนสพานลอย อบถนนที่เราผ่านไปมาทุกวัน การเคลื่อนที่ของรถบนท้องถนน


วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

แนวความคิดสร้างงาน

-จากงานศิลปะที่ผสมผสานกับโครงสร้างของงานสถาปัครยกรรม
-จากนั้นก็สนใจและอยากที่จะดึงความเป็นสถาปัตร เลยนึกถึงพวกคาน โครงสร้างและเนื้องานที่มีความหนาแน่นมั่นคง
-เลยมานึกต่อว่าแล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้เกิดความหนาแน่นมั่นคงล่ะ
-การวมตัวของมวลสารที่หนาแน่ใช่มั๊ย?
-มันน่าจะเป็นการรวมตัวของมวลสารที่มีอนุภาคเล็กๆ
-สิ่งนั้นน่าจะเป็น อะตอม
-อะตอมเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสาร ทุกอย่างเกิดขึ้นมาจากการรวมตัวของอะตอม ภายในอะตอมมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและมี อีเล็กครอนวิ่งรอบนิวเคลียส ทำให้เกิดความสเถียรและอะตอมมีรูปแบบเป็นวงกลม
-อิเล็กตรอนวิ่งรอบนิวเคลียสโดยเป็นวงลมจึงให้เกิดความสเถียร
-แล้วถ้าไม่ใช่วงกลมล่ะ อาจจะเป็นอาจจะเป็นฟอมที่เป็นรูปคน แล้วถ้าจิวเคลียสจัวิ่งออกจาจุดศูนย์กลางพร้อมกันต้องใช้ความไวต่างกันเท่าไหร่นิวเคลียสที่เป็นรูปคนจะเกิดความสเถียร

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ล้วงลึกมุมมองของอะตอม

คำว่า "อะตอม" เป็นคำซึ่งมาจากภาษากรีกแปลว่าสิ่งที่เล็กที่สุด ซึ่งนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่ชื่อ ลูซิพปุส (Leucippus) และดิโมคริตุส (Democritus) ใช้สำหรับเรียกหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร ที่ไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก โดยเขาได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับวัตถุที่มีขนาดเล็ก (ฟิสิกส์ระดับจุลภาค, microscopic) และมีแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของสสารว่า สสารทั้งหลายประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุด จะไม่สามารถมองเห็นได้ และจะไม่สามารถแบ่งแยกให้เล็กลงกว่านั้นได้อีก แต่ในสมัยนั้นก็ยังไม่มีการทดลอง เพื่อพิสูจน์และสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว
ต่อมาวิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้าขึ้น และนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามทำการ ทดลองค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรูปแบบต่างๆตลอดมา จนกระทั่งเกิดทฤษฎีอะตอมขึ้นมาในปี ค.ศ.1808 จากแนวความคิดของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) ผู้เสนอสมมติฐานเกี่ยวกับแบบจำลองอะตอม และเป็นที่ยอมรับและสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น โดยทฤษฎีอะตอมของดาลตันได้กล่าวไว้ว่า
1. สสารประกอบด้วยอะตอม ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด แบ่งแยกต่อไปอีกไม่ได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นหรือทำลายให้สูญหายไป
2. ธาตุเดียวกันประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน มีมวลและคุณสมบัติเหมือนกัน แต่จะแตกต่างจากธาตุอื่น
3. สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปด้วยสัดส่วนที่คงที่
4. อะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีรูปร่างและน้ำหนักเฉพาะตัว
5. น้ำหนักของธาตุที่รวมกัน ก็คือน้ำหนักของอะตอมทั้งหลายของธาตุที่รวมกัน

แบบจำลองอะตอม (Atomic model) เป็นภาพทางความคิดที่แสดงให้เห็น รายละเอียดของโครงสร้างอะตอมที่สอดคล้อง กับผลการทดลองและใช้อธิบายปรากฎการณ์ ของอะตอมได้ ซึ่งหลังจากสมัยของดาลตัน ผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ในรุ่นต่อมาได้ค้นพบว่าอะตอมมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน มีธรรมชาติที่เป็นไฟฟ้าเกี่ยวข้องอยู่ด้วย และสามารถแบ่งแยกให้เล็กลงได้อีกในบางอะตอม ดังนั้นจึงมีแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมาอีกหลายแบบ

เราเลยตัวอย่าของอะตอมในความคิดของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคนมาให้ดูกัน

โครงสร้างที่แข็งแรง

คราวที่แล้วที่พูดไปว่าสนใจความเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง ก็เลยนึกได้สิ่งของทุกอย่ารวมถึงงานก่อนสร้างต่างๆที่มีมวลที่มีความหนักแน่นและแข็งแรง จะต้องอาศัยการรวมตัวของมวลสารก็เลยคิดต่อไปอีกว่า มันเกิดจากการรวมตัวของอะไร เลยหาข้อมูลมาได้ว่าอะตอมเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดแล้วรวมตัวกันจึงเกิดมาเป็นสสารต่างๆได้ เลยได้หาข้อมูลของอะตอมมา


จอห์น ดอลตัน เป็นคนแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับอะตอม สรุปว่า


1. สารประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก เรียกว่า อะตอม แบ่งแยกไม่ได้ และสร้างขึ้นหรือทำลายให้สูญหายไปไม่ได้


2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีมวลเท่ากัน มีสมบัติเหมือนกัน แต่จะแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น ๆ


3. อะตอมของธาตุสองชนิดอาจรวมตัวกันด้วยอัตราส่วนต่าง ๆ กัน เกิดเป็นสารประกอบได้หลายชนิด2.


ทอมสัน ทำการทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของก๊าซในหลอดรังสีแคโทด พบว่าไม่ว่าจะใช้ก๊าซใดบรรจุในหลอดหรือใช้โลหะใดเป็นแคโทด จะได้รังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุลบ พุ่งมาที่ฉากเรืองแสงเหมือนเดิม เมื่อคำนวณหาอัตราส่วนของประจุต่อมวล (e/m)ของอนุภาค จะได้ค่าคงที่ทุกครั้งเท่ากับ 1.76 x 108 คูลอมบ์ต่อกรัม สรุปว่า อะตอมทุกชนิดมีอนุภาคที่มีประจุลบเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า อิเล็กตรอน
รูป 2.3 หลอดรังสีแคโทดที่มีขั้วไฟฟ้าในหลอดเพิ่มอีกสองขั้วเพื่อทำให้เกิดสนามไฟฟ้า 3. โกลดชไตน์ ดัดแปลงหลอดรังสีแคโทด เมื่อเปลี่ยนชนิดของก๊าซ พบว่า อนุภาคที่มีประจะบวกมีอัตราส่วนของประจุต่อมวลไม่คงที่ ถ้าใช้ก๊าซไฮโดรเจน จะได้อนุภาคบวกมีประจุเท่ากับประจุของอิเล็กตรอนจึงเรียกอนุภาคบวกว่า โปรตอน4. มิลลิแกน ทำการทดลองหาค่าประจุของอิเล็กตรอน เท่ากับ 1.60 x 10-19 คูลอมบ์ และเมื่อนำไปคำนวณหามวล ของอิเล็กตรอน จะได้เท่ากับ 9.11 x 10-28 กรัม5. รัทเทอร์ฟอร์ด, ไกเกอร์ และมาร์สเดน ยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ พบว่า อนุภาคส่วนใหญ่จะวิ่งเป็น
เส้นตรงผ่านแผ่นทองคำ นาน ๆ ครั้งจะเบนไปจากแนวเส้นตรง และน้อยครั้งมากที่อนุภาคจะสะท้อนกลับมากระทบ
ฉากบริเวณหน้าแผ่นทองคำ6. เลขอะตอม คือ ตัวเลขที่แสดงจำนวนโปรตอน7. เลขมวล คือ ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน8. ไอโซโทป คือ อะตอมต่าง ๆ ของธาตุเดียวกันที่มีเลขมวลต่าง ๆ เช่น 11H, 21H และ 31H9. สัญลักษณ์นิวเคลียร์ วิธีเขียน เลขอะตอมไว้มุมล่างซ้าย และเลขมวลไว้มุมบนซ้ายของสัญลักษณ์ เช่น 23 11 Na10. การจัดอิเล็กตรอนในอะตอม
วิธีการใช้ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส คือ การศึกษาสเปกตรัมของสารหรือธาตุแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสงที่มองเห็นได้มีความยาวคลื่น 400 - 700 นาโนเมตร แสงสีต่าง ๆ ในแถบสเปกตรัมของแสงได้แก่ ม่วง น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง
แสงสีม่วง มีความยาวคลื่นสั้นที่สุด แต่มีความถี่สูงที่สุด และมีพลังงานสูงสุด
แสงสีแดง มีความยาวคลื่นมากที่สุด แต่มีความถี่ต่ำที่สุด และมีพลังงานต่ำสุด
มักซ์ พลังค์ สรุปว่า พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่นนั้น
E = พลังงาน จูล (J)
h = ค่าคงที่ของพลังค์ มีค่า 6.625 x 10-34 จูลวินาที (Js)
= ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Hz)
C = ความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสูญญากาศ = 3.0 x 108 m/s
= ความยาวคลื่น (m) (1 นาโนเมตร เท่ากับ 10-9 เมตร)
สเปกโตสโคป เป็นเครื่องมือสำหรับแยกสเปกตรัมของแสงขาว และตรวจเส้นสเปกตรัมของธาตุที่ถูกเผา การทดลองใช้ลวดนิโครมจุ่มลงในกรดไฮโดรลอริกเข้มข้น (HCI) แตะสารประกอบที่ต้องการทดสอบ นำไปเผาบนเปลวไฟ สังเกตสีของเปลวไฟ และใช้สเปกโตสโคปสังเกตสีของเส้นสเปกตรัม
1. สีของเปลวไฟ หรือเส้นสเปกตรัม เกิดจากส่วนที่เป็นโลหะ (ion +) ในสารประกอบชนิดนั้น ๆ
2. ธาตุแต่ละชนิด มีเส้นสเปกตรัมเป็นลักษณะเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน ลักษณะของเส้นสเปกตรัมจึงเป็นสมบัติเฉพาะตัว
ประการหนึ่งของธาตุ เส้นสีเขียวที่เห็นจากแสงไฟฟลูออเรสเซนต์ เกิดจาก ไอปรอท 11. การศึกษาเรื่องสเปกตรัมของสารหรือของธาตุ สรุปได้ว่า
1. เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงาน จึงขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้อะตอมไม่เสถียร อิเล็กตรอนจึงคาย พลังงานเท่ากับพลังงานที่ได้รับเข้าไป พลังงานส่วนใหญ่ที่คายออกอยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฎเป็นเส้น สเปกตรัม
2. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน อาจมีการเปลี่ยนข้ามขั้นได้
3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่ำจะอยู่ใกล้นิวเคลียส
4. ระดับพลังงานต่ำอยู่ห่างกันมากกว่าระดับพลังงานสูง ระดับพลังงานยิ่งสูงขึ้นจะยิ่งอยู่ชิดกันมากขึ้น12. นีลส์ โบร์ สร้างแบบจำลองว่า อิเล็กตรอนในอะตอมวิ่งอยู่รอบนิวเคลียสเป็นชั้น ๆ หรือเป็นระดับพลังงานมีค่า
พลังงานเฉพาะคล้าย ๆ กับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ซึ่งแบบจำลองนี้ใช้ได้ดีกับอะตอมขนาดเล็กที่มี
อิเล็กตรอนเดียว เช่น ไฮโดรเจนเท่านั้น13. พลังงานไอออไนเซชัน (IE) คือ พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมในสถานะก๊าซ
Mg(g) + IE1 Mg+(g) + e-
Mg+(g) + IE2 Mg2(g) + e-
พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นของธาตุใดก็ตาม ล้วนมีค่าต่ำสุดเมื่อเทียบกับพลังงานไอออไนเซชัน ลำดับอื่น ๆ ของธาตุเดียวกัน เพราะอิเล็กตรอนที่หลุดออกไปตัวแรกได้รับแรงดึงดูดจากนิวเคลียสน้อยที่สุด
ค่าพลังงานไอออไนเซชันใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มอิเล็กตรอนได้คำถาม กำหนดปฏิกิริยาต่อไปนี้
ก. Zn(s) Zn(g) ดูดพลังงาน 130 kj/mol
ข. Zn(s) Zn2+(aq) + 2e- ดูดพลังงาน 737 kj/mol
ค. Zn2+(g) Zn2+(aq) ดูดพลังงาน 2046 kj/mol
ผลรวมของค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่ง และที่สองของสังกะสีเป็นเท่าใดในหน่วย kj/mol
1) 607 2) 1179 3) 1439 *4) 265314. จำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงาน = 2n2
อิเล็กตรอนในระดับพลังงานสูงที่สุดของแต่ละธาตุ เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน
3919K มีการจัดอิเล็กตรอน เป็น 2, 8, 8, 1 (หมู่ 1 A คาบ 4)15. แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก สรุปได้ว่า
1. การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนไม่มีทิศทางแน่นอน บอกได้เพียงโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน ณ ตำแหน่งต่าง ๆ เท่านั้น
2. โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานไม่เหมือนกัน ขึ้นกับจำนวนอิเล็กตรอนและระดับพลังงานของ อิเล็กตรอนนั้น
3. อิเล็กตรอนที่มีพลังงานต่ำอยู่ในบริเวณใกล้นิวเคลียสมากกว่าอิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูง

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

First Things First

ครั้งที่แล้วเราได้มีข้อคิดดีจากBruce Mauไปแล้วทั้ง 12 ข้อ ไม่รู้ว่าเพื่อนๆได้เอาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันบ้างหรือยังเรารู้สึกว่ามันดีนะอยากทำได้เหมือนกันแต่ไม่รู้ว่าจะได้ครบทุกข้อรึป่าว วันนี้เราเอาแนวคิด12ข้อของเอามาให้ในฉบับภาษาอังกฤษเผื่อเพื่อนๆบางคนไม่ค่อยเข้าใจภาษาไทย

คราวที่แล้วเราพูดถึงกลุ่มที่ทำงานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีแนวทางการสร้างงานที่คล้ายกับCitizen Designer คือกลุ่มของ First Things First 2000 กลุ่มคนกลุ่มนี้ได้ทำงานคล้ายกับ Citizen เขาได้รวบรวมกลุ่มคนที่เป็นศิลปินมาร่วมกันลงนามเพื่ออยู่ในกลุ่ม First Things First ทั้งหมด3คน กลุ่มคนที่มารวมกันกันกลุ่มนี้เขาให้ความสำคัญกับการออกแบบมากกว่าการตลาดหรือการขายเท่านั้น พวกเขาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมที่ดีงามอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

citizen design week2






เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเราไนเสนอ Citizendesign ไปแล้วครั้งนึงแต่เราก็ยังงงกันอยู่ว่า Citizendesign เขาทำงานอะยังไงกันแน่แต่วันนี้เราได้ไปหาข้อมูลมาใหม่ดูแล้วน่าจะดีขึ้นและถูกต้องตาามจุดประสงค์ขึ้น(มั้ง)



Citizendesign เป็นกลุ่มนักออกแบบในสมัยศรรตวรรษที่21 จุดปรัสงค์ของกลุ่มนักออกแบบกลุ่มนี้ก็คือ อยากจะเปลี่ยนของผู้นริโภคที่ยึดกับตราสินค้าให้เลิกยึดติดกับตราสินค้า และให้บริษัทที่ยึดติดแต่ผลกำไรให้เลิกยึดติดโดยพยายามแสดงให้ทุกคนเห็นถึงการออกแบบที่ช่วยให้เข้าถึงการคงไว้ในคุณภาพของชีวิต แสดงถึงความจำเป็นในการออกแบบและอนาคต มีนักออกแบบที่อยู่ในกลุ่ม Citizen design หลายคนแต่เราจะยกตัวอย่างนักออกแบบ Typographer ชื่อ Jonathan Barnbrook เขาเป็นนักออกแบบในยุค90 งานของเขาที่ออกมาคือการสร้าง Font ที่มีสไตล์และมีความหลากหลาย ผลงานของเขาได้รับการยกย่องจากกลุ่มคนที่ออกแบบตัวอักษรว่าเป็นอักษรที่ผสมผสานระหว่างศิลปะและการการนำไปใช้ในการออกแบบได้อย่างลงตัวผลงานของเขาได้นำไปจัดแสดงในประเทศที่เป็นผู้นำการออกแบบหลายประเทศ และเขายังได้เป็นที่รู้จักของคนทั่งไปอีกว่าเป็น Conscientious Designer คือ เป็นนักออกแบบที่มีจิตสำนึก นักออกแบบอีกคนที่เราจะมายกตัวอย่างให้ดูคือBruce Mau นักออกแบบคนนี้เป็นนักออกแบบกราฟฟิกที่มีชื่อเสียง มีผลงานของเขามากมายที่ออกมาให้เห็นโดยเขาอาศัยหลักการแก้ไขง่ายๆแต่อยู่บนฐานความเป็นจริงและเขาก็มีแนวคิดของเขา12 ข้อที่ดูแล้วมีความน่าสนใจและน่าทำตาม คือ



ยิ่ง1.คนเราควรต้องมีจุดมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อจะได้มีแรงผลักดัน และรู้จักเปิดรับสิ่งต่างๆมาลองศึกษา



2.การเรียนรู้ไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สำคัญที่ว่า เราต้องรู้จักสำรวจ



3.กระบวนการทำงานสำคัญกว่าผลงานที่ออกมา เราควรใส่ใจในการกระบวนการคิดและทำให้มาก เพราะผลงานที่ดีหรือไม่ มันจะเกิดจากสิ่งเหล่านี้



4.รักที่จะทดลอง ถึงแม้การทดลองผลจะออกมาดีหรือไม่ดี ก็ควรที่จะสนุกกับมันและมองไปข้างหน้า เพราะผลทดลองที่ผิดพลาด ก็อาจเกิดความคิดในงานที่น่าสนใจใหม่ๆขึ้น ควรรักที่จะทดลองมากๆ



5.ค้นคว้าข้อมูลให้มากๆ เราควรที่จะรู้ลึกเกี่ยวกับหัวข้อที่เราจะศึกษา ยิ่งมีความรู้มากเท่าไร ผลงานก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น



6.ถ้าเกิดปัญหาในการทำงาน อย่าคิดว่ามันเป็นข้อผิดพลาด บางทีปัญหาเรานั้น อาจเป็นกุญแจไปสู่ไอเดียใหม่ๆได้เหมือนกัน



7.ห้องเรียน ควรใช้เวลาในห้องเรียนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะบางทีเรากลับไปที่บ้านอาจไม่มีอุปกรณ์ที่เอื้อ อำนวยเท่าห้องเรียน



8.บางครั้งให้เราลองไม่มีจุดหมายดูบาง เช่น การเดินทางไปเรื่อยๆ ระหว่างที่เราขับรถ เราอาจจะพบเจอสิ่งดีๆ ตามข้างทาง แต่ก็ต้องอย่ารู้จักสังเกตุ



9.ให้ไปอยู่ในทุกๆที่ Jonh cage กล่าวว่า"การที่เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน (หลงทาง)ให้เรารู้จักที่จะเปลี่ยนตัวเราว่า เราไม่ได้หลง แต่เรากำลังเดินทางสังเกตุเหตุการณ์รอบๆตัวต่างหาก"



10.ทุกคนเป็นผู้นำ บางครั้งเราควรหัดเป็นผู้นำ และบางครั้งการเป็นผู้ตาม ก็สำคัญ



11.เก็บเกี่ยวความคิด มาวิเคราะห์เรียบเรียงให้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์



12.อย่าหยุดอยู่กับที่ เพราะเวลาที่เราหยุด คนอื่นเค้าไม่ได้หยุด นำหน้าเราไป เราอาจตามไม่ทัน